โวหารภาพพจน์ คือ กลวิธีหรือชั้นเชิงทางภาษา ที่ช่วยสร้างจินตภาพให้กับผู้อ่านหรือทำให้เกิดความประทับใจ มักพบได้ในงานเขียนประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะวรรณกรรมและวรรณคดี
1.อุปมา
เป็นการเปรียบสิ่งหนึ่งว่าเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง มักมีการใช้คำเชื่อมที่แสดงถึงการเปรียบเทียบ มีความหมายเหมือนคำว่า “เหมือน” เช่น ดุจ ดั่ง เพียง เพี้ยง ดัง ราวกับ เทียม เฉก เช่น ฯลฯ
📌ตัวอย่างประโยค: เธอใจดำเหมือนอีกา, ตึกสูงเทียมฟ้า
2. อุปลักษณ์
การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง หรือการเปรียบเทียบของสองสิ่งว่าเป็นสิ่งเดียวกันอย่างตรงไปตรงมา มักมีคำว่า “คือ” หรือ “เป็น”
📌ตัวอย่างประโยค: เธออ้วนเป็นหมูแล้ว, ครูเป็นแม่พิมพ์ของชาติ
3. สัญลักษณ์
การใช้สิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง มักเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ในวงกว้าง
📌ตัวอย่างประโยค: “นกพิราบ” เป็นสัญลักษณ์ของ “อิสรภาพ”, “หงส์” เป็นสัญลักษณ์ของ “คนชนชั้นสูง”
4. บุคลาธิษฐาน
การกล่าวถึงสิ่งไม่มีชีวิต สัตว์ ความคิดนามธรรมให้แสดงกิริยาอาการ อารมณ์ความรู้สึกเหมือนมนุษย์
📌ตัวอย่างประโยค: พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง, ท้องฟ้าอวยพรในตอนเช้า
5. อติพจน์
การกล่าวเกินจริงเพื่อสร้างอารมณ์รุนแรงให้ผู้อ่านรู้สึกมีอารมณ์ร่วมอย่างลึกซึ้ง หรือเกิดภาพในหัว
📌ตัวอย่างประโยค: คอแห้งเป็นผง, รอจนรากงอก
6. สัทพจน์
การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติเพื่อให้ผู้อ่านสามารถจินตนาการถึงเสียงนั้น ๆ ได้
📌ตัวอย่างประโยค: ฟ้าร้องเปรี้ยง ๆ, น้ำไหลดังจ๊อก จ๊อก
7. นามนัย
การใช้คำหรือวลีเพื่อแทนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยอ้างอิงถึงลักษณะหรือคุณสมบัติที่สื่อถึงสิ่งนั้น ๆ
📌ตัวอย่างประโยค: แดนกิมจิ หมายถึง ประเทศเกาหลี, เมืองย่าโม หมายถึง จังหวัดนครราชสีมา
8. ปฏิพากษ์
การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายขัดแย้งกันในตัว เพื่อให้ประโยคนั้นมีความหมายกินใจ สะเทือนอารมณ์
📌ตัวอย่างประโยค: เขามันเลวบริสุทธิ์, เขาหล่อจนเป็นบ้า
เมื่อได้รู้เกี่ยวกับหลักการของโวหารภาพพจน์แล้ว มาเรียนรู้เกี่ยวกับ โวหารการเขียน กันต่อได้ในรายการ ห้องเรียนติวเข้ม Website: www.ALTV.tv/TutorMton