ถ้าน้อง ๆ เป็นอีกคนหนึ่งที่หลงใหลในเสียงดนตรี อยากทำงานในสายนี้ แต่ก็ติดอยู่ตรงที่ว่าเล่นดนตรีไม่เป็นสักอย่าง จะทำยังไงดี? บทความนี้มีคำตอบ!
อย่างแรกเลยที่ต้องทำความเข้าใจคือ ในสายดนตรีไม่ได้มีแค่ มือกลอง กีตาร์ เบส และนักร้อง ที่ออกมายืนเบื้องหน้าเท่านั้น! แต่ยังต้องอาศัยทีมงานคอยจัดแจงเรื่องต่าง ๆ และมีองค์ประกอบที่หลากหลายอยู่เบื้องหลัง แถมสำคัญมาก ๆ อีกด้วย วันนี้เราจะมายกตัวอย่างให้ฟังว่ามีอะไรบ้าง! และแน่นอนว่าทุกตำแหน่งไม่จำเป็นจะต้องมีความรู้ด้านดนตรีเฉพาะทาง
1.อาชีพดูแลศิลปิน ( Artist Relations )
ตำแหน่งนี้ถือว่าเป็นตำแหน่งที่ใครหลาย ๆ คนใฝ่ฝัน เพราะดูเหมือนว่าได้ใกล้ชิดกับศิลปิน ได้ดูคอนเสิร์ตฟรี ยิ่งถ้าได้ดูแลศิลปินที่เราเป็นแฟนคลับอยู่แล้ว บอกได้เลยว่าฟินสุด ๆ แต่... หน้าที่นี้ต้องอาศัยความรับผิดชอบสูง ต้องดูแลตั้งแต่สุขภาพกาย สุขภาพใจ เพื่อให้พร้อมทำงานอยู่เสมอ รู้วิธีรับมือกับศิลปินแต่ละคน มีจิตวิทยา รับผิดชอบความปลอดภัย ความสะดวกเรียบร้อยต่าง ๆ ในการทำงาน ทั้งการซักซ้อม, การเป็นกำลังใจ รวมถึงสังเกต Feedback ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ปัจจุบันหน้าที่นี้ยังต้องช่วยถ่ายรูป รวมไปถึงเทคแคร์แฟนคลับ เรียกได้ว่า ดูแลกันแบบ 360 องศาในการพาศิลปินไปออกงาน (ทั้ง Music Video, ออกงานทุกประเภท) รู้รายละเอียดของงานทุกส่วน รับผิดชอบให้ทุกคนทำงานตรงเวลาเพื่อให้ผ่านลุล่วงไปด้วยดี และด้วยความใกล้ชิดกับศิลปิน ต้องสร้างทัศนคติที่ดีด้วย ป้องกันให้เกิดข้อผิดพลาดในงานน้อยที่สุด เตรียมรับมือทุกสถานการณ์
คุณสมบัติที่สำคัญ
2.อาชีพส่งเสริมการขาย ( Promoter Artist )
เป็นตำแหน่งที่สำคัญมาก ๆ ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้ เพราะต้องวางแผนกลยุทธ์ กำหนดทิศทางต่าง ๆ เพื่อให้ศิลปินไปสู่เป้าหมายสูงสุด แน่นอนว่าวงดนตรียุคนี้จะให้มาเล่นคอนเสิร์ตอย่างเดียวก็คงไม่พอ พฤติกรรมของผู้ฟังเปลี่ยนไป แถมเดี๋ยวนี้วงดนตรีก็มากหน้าหลายตา จะทำยังไงให้คนจำศิลปินได้ ก็ต้องอาศัย "Promoter" มาช่วยวางแผนทางการตลาด อาทิเช่น ต้องวิเคราะห์เพลงและตัวตนศิลปิน ว่าควรเป็นไปในทิศทางใด ควรขายให้คนกลุ่มไหน คิดวิธีที่จะทำให้ผลงานไปถึงกลุ่มผู้ฟัง รวมถึงสื่อที่ใช้ในการโปรโมททั้งหมด (รูปภาพ, MV, Video) ช่องทางการจัดจำหน่าย ต้องตามทันโลก รู้หมดว่าในขณะนี้อะไรกำลังเป็นกระแส! เห็นภาพรวมทั้งหมด เป็นงานที่ทำงานร่วมศิลปินและฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติที่สำคัญ
3.อาชีพประชาสัมพันธ์ ( Public Relation )
เมื่อศิลปินทำเพลงขึ้นมาเสร็จกระบวนการเรียบร้อยแล้ว เพลงถูกปล่อยออกมาก็ต้องอาศัยตำแหน่งนี้เพื่อประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก โดยจะต้องดูว่าสื่อไหนที่ตรงกับกลุ่มคนฟังของศิลปิน จากนั้นก็เขียนข่าวส่งสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคลื่นวิทยุ , สำนักข่าวบันเทิง, สิ่งพิมพ์, สื่อออนไลน์, งานแถลงข่าว หรืออื่น ๆ ซึ่งความยากอยู่ตรงที่จะมีวิธีการอย่างไรให้สื่อมวลชนมีความสนใจในตัวศิลปิน อาจจะต้องคิดแคมเปญทำร่วมกับสื่อต่าง ๆ อีกด้วย และที่สำคัญต้องผลักดันให้ศิลปินอยู่ในหน้าสื่อต่าง ๆ อยู่เสมอ โดยต้องคำนึงถึงความเหมาะสม
คุณสมบัติที่สำคัญ
4.อาชีพทำเนื้อหาเกี่ยวกับดนตรี (Online Music Content)
ฟังดูแล้วอาจจะเป็นเรื่องธรรมดา! แต่อย่างที่รู้กันว่าสมัยนี้สื่อออนไลน์มีความสำคัญกับสังคม แหล่งข่าวที่สำคัญส่วนมากก็มาจากอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ และใคร ๆ ก็สามารถทำได้ แถมยังได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่เป็นอย่างดี โดยสื่อออนไลน์อย่างง่ายที่สุดคือ Facebook page ที่เราเห็นกันอย่างคุ้นตา
3 ไอเดียในการทำเพจเนื้อหาเกี่ยวกับดนตรี
ทั้ง 3 ไอเดียนี้เป็นตัวอย่างของการทำสื่อออนไลน์ที่เกี่ยวกับดนตรี สามารถต่อยอดไปได้หลายอย่าง เมื่อมีฐานแฟนหรือยอดกดไลค์ที่เยอะ ก็จะมีรายได้มาจากผู้ที่สนใจซื้อพื้นที่โฆษณาในเพจ นอกจากนี้ยังสามารถต่อยอดเป็นงานอีเวนต์ /คอนเสิร์ตได้อีกด้วย เนื่องจากมีทั้งฐานแฟนเพจที่เป็นที่รู้จัก และ มี Connection นักดนตรีต่าง ๆ
5.ผู้จัด ( EVENT, Concert )
ถ้าเราเป็นผู้เล่นไม่ได้ ก็เป็นผู้จัดหรือผู้ว่าจ้างเองเลยละกัน! ซึ่งอาชีพนี้ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง ทั้งทีมงานในหลายฝ่าย, ต้นทุน, สปอนเซอร์ และอื่น ๆ แต่ถ้าเริ่มคิดที่จะจัดงานเป็นของตัวเองแล้ว อาจจะเริ่มต้นจากเล็ก ๆ ถึงแม้จะมีความเสี่ยงสูงแต่ไม่ต้องกังวลไป ประสบการณ์จะสอนเราเอง! วันนี้เราจะมาบอกแนวคิด และการเตรียมตัวเบื้องต้นสำหรับคนที่กำลังสนใจอยากเป็นผู้จัด
หากอยากเริ่มต้นจัดคอนเสิร์ตต้องทำอย่างไรบ้าง?
การที่เราได้มีโอกาสเป็นผู้จัดสักครั้งหนึ่ง เป็นงานที่เหนื่อยแต่เมื่อจบงานแล้วเราจะได้เรียนรู้กับสิ่งต่าง ๆ มากมาย และจะได้ทดสอบว่าเรามีความฝันทางด้านนี้จริงหรือเปล่า
Early Bird - บัตรที่มีโปรโมชั่นราคาพิเศษสำหรับการซื้อก่อน พร้อมสิทธิพิเศษอื่น ๆ
Headliner - วงหลักของแต่ละงาน เป็นวงที่สามารถดึงดูดผู้ชมให้อยากดูมากที่สุด
Rider - รายละเอียดที่ศิลปินใช้แจ้งกับผู้จัดว่ามีอุปกรณ์และเครื่องดนตรีอะไรบ้างที่จำเป็นต้องใช้ รวมถึงตำแหน่งในการแสดง
Sound Check - ตรวจสอบความถูกต้องและพร้อมใช้งานของระบบเสียงทั้งหมด รวมถึงปรับแต่งเสียงให้เหมาะสมก่อนทำการแสดงจริง
Pre - Light - ตรวจสอบความถูกต้องของแสงให้พร้อมใช้งานตามที่ได้ดีไซน์มา ให้เข้ากับเพลงนั้น ๆ รวมถึงลำดับในการใช้แสงพร้อมโชว์ทั้งหมด
Run Through - เป็นขั้นตอนรีเช็คระบบของทุกฝ่ายเหมือนแสดงจริง ตั้งแต่เริ่มจนจบ เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจคิวในการแสดงทั้งหมด
สำหรับน้อง ๆ ที่อยากเรียนรู้ 5 อาชีพนี้ ก็มีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนอยู่ด้วย โดยจะเน้นไปที่ภาพรวมของวงการดนตรีทั้งหมด
สำหรับใครที่อยากจัดคอนเสิร์ตหรืออีเวนต์ดนตรี สามารถเข้าเรียนได้ที่